วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติดนตรีสากล




ประวัติดนตรีสากล
ดนตรีตะวันตกแบ่งเป็น 7 สมัยใหญ่ ๆ  ดังนี้

     1. สมัยกลาง (The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450) พ.ศ. 1393 – 1993
ก่อน สมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว (Monophony) โดยได้ต้นฉบับจากกรีด เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง (Polyphony) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo (พ.ศ. 1538 – 1593) ได้สังเกตเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียงกัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do(เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2) ต่อมา ค.ศ. 1300 (พ.ศ. 1843) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

     2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง

     3. สมัยโบราค (BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค (พ.ศ. 2143 – 2218) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด

     4. สมัยคลาสสิค (Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรีลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย

     5. สมัยโรแมนติก (Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญ
นักแต่ง เพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่

     6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม (Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล

     7. สมัยคอนเทมพอลารี (Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กีบความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไปในแบบปัจจุบัน

Taylor 214 นับเป็น Acoustic Guitar ที่รุ่นที่น่าสนใจ ด้วยรูปทรง Grand Auditorium ยอดนิยมของ Taylor ไม้หน้า Solid Spruce  ไม้หลัง และข้าง (back & side) ทำด้วยไม้ Indian Rosewood Laminate กับราคาที่คุณสามารถครอบครองได้ไม่ยาก

เมื่อพูดถึงกีต้าร์ชั้นดีสักตัว แน่นอนว่า Acoustic Guitar Taylor เป็นหนึ่งในนั้น

Acoustic Taylor guitar เกิดขึ้นเมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว นั่นคือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ณ California, ในวันนี้ Bob Taylor ได้ค่อยๆ เริ่มพัฒนา และสร้างมาตรฐานในการผลิตเรื่อยมา และเขาก็ทำมันได้อย่างยอดเยี่ยม จากร้านซ่อมกีต้าร์เล็กๆ กลายเป็นโรงงานผลิตกีต้าร์ขนาดใหญ่ จากที่เคยต้องเอากีต้าร์ขนใส่หลังรถ  เพื่อเอากีต้าร์ที่ตัวเองทำไปเสนอขายตามร้านค้าต่างๆ
ลักษณะของเสียง      - Taylor 214 ให้เสียงที่นุ่มนวล ให้สียงตัวโน๊ตที่แหลมคมชัด เหมาะกับการเล่นในแบบ Finger picking เป็นอย่างยิ่ง  ส่วนการเล่นแบบ Strumming ตอบสนองได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ดีเท่ากับการเล่นในแบบ Finger picking สำหรับเสียงที่พอใจมากที่สุดก็คือ โทนแหลม ซึ่งมีความคมชัด ดีมาก
     - ความสัมพันธ์ระหว่างตัวโน๊ตเสียงสูงกับโน๊ตเสียงต่ำ หรือที่เราเรียกๆ กันว่า Balance นั่นคือ โน๊ตแต่ละตัว จะต้องมีโทนเสียง หรือจะเรียกว่า อิทธิพลของเสียง ที่เสมอๆ กัน กล่าวคือ ไม่มีใครล้ำหน้าใครนั่นเอง ต้องบอกว่า Taylor 214 ทำได้อย่างน่าพอใจ เรื่อง Balance นั้น เท่าที่ฟัง ไม่มีปัญหาใดๆ
     - ส่วนของ Sustain หรือถ้าจะขยายความก็คือ ความยาวของหางเสียง หรือการบอกระยะเวลาความยาวนานของเสียง ตั้งแต่เริ่มดังจนเงียบ Taylor214 ก็ทำได้อย่างดีเช่นเดียวกัน 

แม้จะตอบสนองเสียงคมชัดได้ดี แต่เบสของ series 214 ดูจะน้อยไปสักนิด แต่สิ่งนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของ Taylor ที่จะเน้นเสียงกลาง และแหลมคมมากกว่าที่จะเน้นที่เสียงเบสที่หนา  อย่างเช่น Martin เป็นต้น

ดังนั้น หากใครที่กำลังมองหากีต้าร์ในงบที่ไม่สูงเกินไป และชอบโทนเสียงในแบบคมชัด เน้นเสียงกลาง ไม่ชอบเบสหนาๆ Taylor214 จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย      ชาติไทยเป็นชาติเก่าแก่ที่มีศิลปวัฒนธรรมอันสูงส่งหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีและการละเล่น ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นศิลปพื้นบ้าน และส่วนที่พัฒนาไปเป็นศิลปแบบฉบับประจำชาติ 
     ในส่วนของดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ผิดแผกแตกต่างกันออกไปตามความเป็นอยู่ ความเชื่อและวัฒนธรรมประจำถิ่น ที่เกิดในท้องถิ่นนั้นๆ เองก็มี ที่ถ่ายทอดอิทธิพลซึ่งกันและกันระหว่างท้องถิ่นก็มี บ้างก็ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ได้นำมากปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของตน ดนตรีทั้งหลายเหล่านั้นส่วนใหญ่มีกำเนิดยาวนานนับเป็นร้อยๆ ปีและบางอย่างก็เกิดขึ้นใหม่ตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคม
     ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านี้ นับวันแต่จะสูญสิ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป ด้วยสาเหตุแห่งการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ในสังคม จนทำให้รูปแบบดั้งเดิมสูญหายไป 
ประวัติเครื่องดนตรีไทย     ดนตรีไทยมีกำเนิดมาอย่างไร จากตำราที่ท่านผู้รู้หลายท่านเขียนขึ้น มักเขียนไว้ว่าดนตรีไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดียโบราณ ที่สันนิษฐานกันอย่างนี้  คงเป็นเพราะในสมัยสุโขทัยเราได้รับอิทธิพลทางศาสนา ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์และการละครมาจากอินเดีย  จึงเกิดความเช์อว่าเราคงได้รับอิทธิพลทางดนตรีมาด้วย ทั้งนี้เพราะการศึกษาเรื่องราวของดนตรี  เป็นการค้นหาหลักฐานสสืบประวัติได้ยากที่สุด เพราะดนตรีเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ จึงเป็นการยากที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ บันทึกเสียงดนตรีเหล่านั้นไว้เป็นหลักฐาน และในสมัยก่อนยังไม่มีผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น

     นอกจากจะมีผู้จดจำทำนองเพลงต่างๆขึ้นแล้วยอมถ่ายทอดให้คนอื่นได้ฟังเพลงนั้น บ้าง โดยเฉพาะ ดนตรีไทย เพิ่งมีการบันทึกเป็นโน๊ตตัวเลขเป็นครั้งแรก เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง โดยการคิดขึ้นของหลวงประดิษฐไพเราะ

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ : William Harvey


เกิด        วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1578 ที่เมืองฟอล์คสโตน (Flockstone) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - ค้นพบระบบการไหลเวียนโลหิต (Blood Circulation)

        ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ แต่ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนายแพทย์ท่านใด
รู้ความจริงที่ว่า เลือดเดินทางอย่างไรในร่างกาย อีกทั้งหน้าที่ของหัวใจก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อประมาณปี 600 ก่อนคริสต์ศักราช
นายแพทย์ชาวกรีก คลาดิอุส กาเลน (Clandius Galen) ได้ศึกษาและอธิบายว่า ระบบโลหิตในร่างกายมนุษย์มีลักษณะคล้ายน้ำขึ้น
น้ำลง ส่วนหัวใจมีหน้าที่ในการทำให้เลือดอุ่น ส่วนหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลย เพราะฉะนั้นวิธีการ
รักษาเมื่อเลือดมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลือดดำออกมา ความเชื่อเหล่านี้ผิด แต่คนทั่วไปรวมถึงแพทย์ก็ยังคงให้ความ
เชื่อถือ จนกระทั่งวิลเลี่ยม ฮาร์วี่ นายแพทย์ชาวอังกฤษได้ศึกษาค้นคว้า และพบความจริงเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย
มนุษย์ ทำให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าผลงานของเขาเป็นเรื่องจริง แต่นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์ส่วนใหญ่
ไม่เชื่อถือ และต่อต้านเขาอีกด้วย ทำให้เขาได้รับความลำบาก แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่ยอมแพ้ และในที่สุดสิ่งที่ฮาร์วี่ค้นพบก็ได้รับ
การยอมรับ

        ฮาร์วี่เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1578 ที่เมืองฟอล์คสโตน ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ร่ำรวย บิดาของเขาเป็นนายก
เทศมนตรีของเมืองชื่อว่า โทมัส ฮาร์วี่ (Thomas Harvey) ทำให้เขามีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี หลังจากที่ฮาร์วี่สำเร็จการศึกษา
ขั้นต้นจากโรงเรียนแคนเทอเบอรี่ แกรมมา (Canterbury Gramma School) ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ
จากนั้นเขาได้ศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริจด์ (Cambridge University) หลังจากจบวิชาแพทย์ในปี ค.ศ. 1597
ฮาร์วี่ได้เข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยปาดัว (Padua University) ประเทสอิตาลี ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ใน
มหาวิทยาลัยปาดัว เขามีโอกาสได้พบกับศาสตราจารย์ฮีโรนิมุส เฟบริซิอุส (Heronimus Fabrisius) ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้
ฮาร์วี่ค้นพบระบบการไหลเวียนโลหิต

        หลังจากที่ฮาร์วี่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดาปัวแล้ว เขาได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเซนต์บาร์โทโลมิว
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ฮาร์วี่เป็นแพทย์ที่มีความสามารถ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ป่วยมาก คนไข้ของเขามีตั้งแต่คนร่ำรวย
มหาศาล จนถึงยากจนเข็ญใจ ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาเขาได้รับเชิญเข้าร่มเป็นสมาชิกของแพทยสภาในปี
ค.ศ. 1607 ต่อมาในปี ค.ศ. 1618 ฮาร์วี่ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (King James I)
เมื่อพระเจ้าเจมส์เสด็จสวรรคต พระเจ้าชาร์ลที่ 1 (King Charles I) ขึ้นครองราชสมบัติสืบแทน ทรงแต่งตั้งให้ฮาร์วี่เป็นแพทย์
ประจำพระองค์ ระหว่างที่ฮาร์วี่ทำงานในตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ
ระบบการไหลเวียนของโลหิต โดยใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 10 ปี ในการบันทึก สังเกต และศึกษาจากการผ่าตัดผู้ป่วยมากกว่า
100 ราย และในที่สุดเขาสามารถค้นพบเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในปี ค.ศ. 1628

         และในปีเดียวกัน ฮาร์วี่ไดี้พิมพ์ผลงานของเขาเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ลงในหนังสือชื่อว่า การทำงาน
ของหัวใจ และระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายสัตว์ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจว่ามีหน้าที่ในการสูบฉีด
โลหิต ลักษณะของหัวใจคล้ายกับถุงกล้ามเนื้อที่เต้นอยู่ตลอดเวลา และการเต้นของหัวใจก็ทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต โดยมี
เลือดแดงที่ไหลออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย จากนั้นเลือดแดงจะกลายเป็นเลือดดำ และกลับขึ้นมาสู่หัวใจอีกครั้งหนึ่ง
เลือดจะถูกส่งเข้าไปยังห้องหัวใจซีกขวาด้านบนก่อน จากนั้นจึงไหลเข้าสู่ห้องหัวใจซีกขวาด้านล่าง และส่งออกจากห้องนี้ไปสู่ปอด
ซึ่งมีหน้าที่นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) ในเลือดออกไป แล้วนำก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าไปแทนที่ เมื่อปอด
ฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงแล้วจะถูกส่งกลับไปยังห้องหัวใจซีกซ้ายด้านบนอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะถูกส่งไปยังห้องหัวใจซีกซ้าย
ด้านล่าง ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย และจะเป็นระบบเช่นนี้เรื่อยไป เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่หัวใจหยุดเต้น
ก็เท่ากับว่าหยุดการสบฉีดโลหิต เลือดในร่างกายก็จะกลายเป็นเลือดดำ ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และเสียชีวิตในที่สุด
นอกจากนี้แล้วฮาร์วี่ยังพบหน้าที่ของลิ้นหัวใจ ซึ่งอยู่ระหว่างห้องหัวใจต่าง ๆ ว่ามีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไป
ทางเดิม

        หัวใจลักษณะนี้จะมีอยู่ในสัตว์ที่มีปอด หรือหายใจข้า - อออก ทางจมูกเท่านั้น ส่วนสัตว์น้ำหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งหายใจ
เข้า - ออก ทางเหงือก ทางผิวหนัง หรือวิธีการอื่น ๆ สัตว์เหล่านี้จะใช้ห้องหัวใจเพียงห้องเดียวทางด้านซ้าย ก็เพียงพอต่อการสูบฉีด
โลหิต

         เมื่อฮาร์วี่เผยแพร่ผลงานออกไป ปรากฏว่าคนทั่วไปไม่เห็นด้วย รวมถึงวงการแพทย์ก็ต่อต้านอย่างหนัก คนไข้ของเขาบางคนถึง
กับเลิกรักษากับเขาเลยทีเดียว จนกระทั่งเขาเสียชีวิตก็ยังไม่สามารถทำให้ทุกคนเชื่อถือในสิ่งที่เขาค้นพบได้ แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบ
ของเขาก็มิได้สูญเปล่า เพราะหลังจากนั้นไม่นานเมื่ออังตวน แวน เลเวนฮุค (Anton Van Leeuwenhoek) สามารถประดิษฐ์
กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ วงการแพทย์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบการไหลเวียนโลหิตของมนุษย์นั้นเป็นไปอย่างที่ฮาร์วี่กล่าวไว้

         ฮาร์วี่ทำงานเป็นแพทย์ประจำราชสำนักอยู่นานกว่า 25 ปี เขาลาออกจากหน้าที่ในปี ค.ศ. 1646 เนื่องจากชราภาพมากแล้ว และ
เสียชีวิตในปีต่อมาที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657

เพลโต : Plato



เกิด        427 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) ประเทศกรีซ (Greece)
เสียชีวิต 347 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) ประเทศกรีซ (Greece)
ผลงาน   - ตั้งโรงเรียนชื่อ อะเคดามี (Academy)
        แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมานานกว่า 2,500 ปีแล้ว แต่หลักการปรัชญาของเพลโตก็ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของการศึกษา ด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาจิตวิทยา ธรรมชาติ หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์ เพลโตเป็นนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์
ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก อีกทั้งท่านยังเป็นอาจารย์ของนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกอย่าง อาริสโตเติล
เพลโตเป็นนักปรัชญาที่วางรากฐานทางการศึกษาวิชาต่าง ๆ ไว้มากมาย เช่น การปกครอง วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น

          เพลโตเกิดเมื่อ 427 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในครอบครัวที่มั่งคั่งและเก่าแก่ครอบครัวหนึ่ง บิดาของ
เพลโตมีชื่อว่า อริสตัน (Ariston) ส่วนมารดาของเขาชื่อว่า เพริเทียน (Peritione) บิดาของเขาเป็นเพื่อนสนิทกับโสเครตีส
(Cosrates 399 - 469 BC.) ซึ่งเป็นนักปรัชญ์ชาวกรีกที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง และเป็นลูกศิษย์ของปีทาโกรัส (Pythagoras)
ในเวลาต่อมาเพลโตได้ศึกษาวิชาการด้านต่าง ๆ กับโสเครตีส ทำให้เขามีแนวความคิดคล้ายกับนักปราชญ์ทั้งสองมาก เพลโตเกิด
ขึ้นมาภายใต้ความวุ่นวายทางการเมืองของกรีซ เนื่องจากเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชาวสปาร์ตา(Sparta) และชาวนคร
เอเธนส์ สงครามครั้งนี้ยุติลงด้วยชัยชนะของชาวสปาร์ตา ทำให้ชาวนครเอเธนส์ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้เพลโต
มีแนวความคิดต่อต้านการเมืองอย่างรุนแรง เขาจึงมุ่งมั่นอยู่กับการศึกษาและได้รับการศึกษาขั้นต้นเช่นเดียวกับลูกผู้ดีมีเงินทั้งหลาย
คือ เรียน ปรัชญา ดนตรี บทกวี และวาทศิลป์ จากอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ของเฮราไคลตุส (Heraclitus) นักปรัชญาชาว
กรีกที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง ต่อมาเพลโตได้ไปศึกษาต่อในวิชาขั้นที่สูงขึ้นไปอีกกับโสเครตีส

          ในระหว่างนั้นความเป็นไปในนครเอเธนส์ล้วนมีแต่ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อของศีลธรรม การเมือง และอาชญากรรม เพลโต และโสเครตีสจึงได้ร่วมมือกันที่จะขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โสเครตีสต้องถูกประหารชีวิตเสียก่อน เนื่อง
จากรัฐบาลต้องการกำจัดบุคคลผู้ที่มีความคิดต่อต้านรัฐบาล ทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองของเพลโตต้องหยุดชะงักไปชั่วเวลาหนึ่ง
และเดินทางออกจากกรุงเอเธนส์ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ นานกว่า 10 ปี แต่ในที่สุดเขาได้เดินทางกลับกรุงเอเธนส์ และดำเนิน
การด้านการเมืองต่อไป หลังจากที่ออกจากกรุงเอเธนส์ไปแล้ว เพลโตได้เดินทางไปที่เมืองเมการา เพื่อไปหายูคลิด (Euclid)
เพลโตได้พักอยู่กับยูคลิดเป็นเวลานาน อีกทั้งยังได้ร่วมมือกันตั้งโรงเรียนขึ้นมาแห่งหนึ่งชื่อว่า สำนักปรัชญาเมการิก โดยได้
ร่วมกับนักปรัชญาอีกท่านหนึ่งนามพาร์มีนิดิส (Parminides) ทำให้เพลโตได้ศึกษาหลักปรัชญาจากพาร์มีนิดิสได้อย่างลึกซึ้ง

         ต่อจากนั้นเพลโตได้ออกเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ อีกหลายเมือง เช่น อิตาลี อียิปต์ ไซรานี และซิซิลี เป็นต้น ในระหว่างนี้
เขาได้ศึกษาหาความรู้จากสำนักที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น เขาได้เข้าศึกษาที่สำนักปีทาโกเรียน (Pythagorean) ของปีทาโกรัส
ที่อิตาลี ส่วนที่เกาะซิซิลี เพลโตได้เข้าศึกษา ณ สำนักของพระเจ้าไดโนซีอุสที่ 1แห่งไซราคิวส์ (King Dionysius I of
Syracuse) นอกจากจะศึกษาหาความรู้แล้ว เพลโตยังได้เผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาของเขาให้กับคนทั่วไปได้รับรู้ โดยการ
ไปบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง แต่เพลโตกลับถูกต่อต้านและส่งผลร้ายกลับมาสู่ตัวของเขา คือ เขาถูกจับไปขายเป็นทาส
แต่โชคดีที่เพื่อนของเขาผู้หนึ่งได้ไปไถ่ถอนตัวเขาออกมา หลังจากที่เพลโตได้เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เป็นเวลานานหลายปี อีกทั้ง
เขาก็ได้ศึกษาหาความรู้จนมีความเชี่ยวชาญในวิชาการต่าง ๆ หลายสาขา ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับกรุงเอเธนส์ อีกครั้ง
หนึ่ง

          เมื่อเพลโตเดินทางมาถึงกรุงเอเธนส์ ประมาณ 387 ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้ตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่งที่กรุงเอเธนส์ชื่อว่า
อะเคดามี (Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับวิชาปรัชญา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อีกทั้งเขายังได้สร้างสวนเพื่อ
ออกกำลังกายสำหรับนักศึกษาในอะเคดามี เพราะหลักการในการเรียนการสอนของเพลโตมีอยู่ว่า ความรู้ทางการบริหาร วรรณคดี
และดนตรี เป็นการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาวิชาปรัชญาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชา
ในขั้นสูงต่อไป ส่วนการเรียนการสอนในสถาบันแห่งนี้ก็ทันสมัยต่างจากการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมของกรีซ ที่ลูกศิษย์มีหน้าที่นั่ง
ฟังแต่เพียงอย่างเดียว เชื่อในสิ่งที่ครูบอกทั้งหมด ห้ามโต้แย้งอย่างเด็ดขาด แต่เพลโตได้ใช้วิธีการตั้งคำถามเพื่อให้ลูกศิษย์มีโอกาส
ได้พูด ใช้เหตุผลในการตอบคำถาม และค้นคว้าหาความจริงด้วยตนเอง การสอนแบบนี้ของเพลโตได้นำมาจากโสเครตีส อาจารย์
ของเขานั่นเอง โรงเรียนของเพลโตแห่งนี้มีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้สถาบันอะเคดามีของเพลโต
ยังได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกอีกด้วย

          การทำงานของเพลโตในสถาบันอะเคดามี เป็นไปได้ด้วยดี และในระหว่างนี้เขายังได้ศึกษาหาความรู้หลายด้านทั้งปรัชญา
จิตวิทยา ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้รวบรวมแนวความคิดของนักปรัชญาทั้งหลายเพื่อใช้สอนในสถาบัน และก็ได้ตั้งหลักปรัชญาขึ้นมาใหม่อีกหลายอย่าง โดยงานของเพลโตสามารถแบ่งออกมาได้ถึง 3 ระยะ คือ

          ระยะแรกประมาณบั้นปลายชีวิตของโสเครตีส งานเขียนในระยะนี้จะมีแนวความคิดคล้ายคลึงกับโสเครตีสมากที่สุด ซึ่งส่วน
ใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรม และความดี เช่น เลกีส (Leges) เป็นเรื่องราวของการค้นคว้าหาความกล้า ไลสีส (Lysis)
เป็นเรื่องราวของการค้นหามิตรภาพ และคาร์มีดีส (Charmedes) นอกจากนี้เพลโตยังได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวประวัติของ
โสเครตีสและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกรุงเอเธนส์

           ระยะที่สองคือช่วงที่เขาออกเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะมีหลากหลายลักษณะ เนื่องจากเขาได้รับอิทธิพล
ทางความคิดจากนักปรัชญาหลายท่าน และในช่วงนี้เองที่เขาได้ตั้ง ทฤษฎีที่ว่าด้วย แบบ (Theory of Forms) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่
มาจากแนวความคิดของโสเครตีสที่ว่า ความรู้ทั้งปวงมาจากแบบ ละทฤษฎีที่ว่าด้วยแบบนี้เป็นหัวใจหลักของปรัชญาทั้งหมดของ
เพลโต แต่ทฤษฎีของเพลโตแตกต่างจากโสเครตีส เนื่องจากเพลโตนำมาขยายเนื้อหาทางอภิปรัชญาที่กว้างขวางขึ้น โดยแบบของ
เพลโตมีความเป็นอิสระและอยู่เหนือจิต เขาได้นำหลักปรัชญานี้มาจากการพิจารณาความเป็นไปของธณรมชาติอีกส่วนหนึ่ง และ
ทฤษฎีนี้ยังได้กำหนดแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ด้วย โดยเพลโตกล่าวว่า การรับรู้จากสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และใจ จะแตกต่างกันไปตามความคิดหรือสถานการณ์นั้น เช่น การที่มองเห็นสัตว์ตัวหนึ่ง จะไม่สามารถบอกได้ว่ามันมีขนาดใหญ่
หรือเล็ก มันอาจจะมีขนาดใหญ่ถ้าไปเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่า หรืออาจจะมีขนาดเล็กถ้าไปเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีขนาด
ใหญ่กว่า เป็นต้น และจากทฤษฎีข้างต้นเพลโตสรุปว่า โดยตัวของมันเองไม่มีสรรพสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ที่มีลักษณะแน่นอนตายตัว

           ผลงานในช่วงสุดท้ายของเพลโตเป็นสิ่งที่ชัดเจนมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์และความรู้ที่มากมายของเพลโต ภายหลัง
จากที่ตั้งสำนักอะเคดามีแล้ว ทำให้เขามีผลงานจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ปรัชญา จริยศาสตร์ การเมือง การศึกษา และวิทยาศาสตร์
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เขาได้นำมาถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ที่สถาบันอะเคดามี และงานชิ้นสำคัญที่สุดในช่วงนี้ก็คืองานเขียนที่ชื่อว่า รีพับลิค
(Republic) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองในความคิดของเพลโต แนวความคิดภายในหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นจากสภาพการเมือง
ในกรุงเอเธนส์ที่วุ่นวายอย่างมากในขณะนั้น หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่ง
ทั้งในขณะนั้นและต่อมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ได้เป็นหนังสือเรียนในวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง
เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เป็นต้น

          กฎที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งของเพลโตคือ กฎที่เกี่ยวกับแสงที่ว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อแสงมากระทบวัตถุ
มุมแสงตกกระทบจะเท่ากับมุมแสงสะท้อน เป็นกฎที่ถูกต้องและยึดถือกันมาจนถึงปัจจุบัน เพลโตเสียชีวิตเมื่อ 347 ก่อนคริสต์ศักราช
แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่แนวความคิดและผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาก็มีอิทธิพลต่อนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ใน
ปัจจุบัน

โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle



เกิด        วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)
เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ
          บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขา
มีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์
เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และ
เป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซ
และเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน

          บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ล
แห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทาง
วิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน
(Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และ
ฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศ
อิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของ
นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจใน
เรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644
ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire)
ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด
(Oxfoerd University)

          หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึก
เพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทาง
เคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้น
จากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำ
เทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ

          ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่
และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่ง
ชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของ
เกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถ
ปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย

          ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศ
ในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศ
เสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ
ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่
อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่
สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตร
ของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับ
การยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า New Experiment
Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ
ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

           ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาด
ความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้น
จึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอท
เข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้นมีระดับของปรอท
สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์

           ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของ
อาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟ
รวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก
ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสารชนิดใดบ้าง
ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได ้
นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด

           บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆ
ส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบ
ก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้

           ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง
จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมี
การเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the
Corpuscular Philosophy

           บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี
ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และ
บารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691
ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ : Albert Einstein

                                 

เกิด        วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)
เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน   - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
             - ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
             - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921
        ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพแห่งการทำลายล้าง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ไอน์สไตน์
ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ
แร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดพลังงานการทำลายสร้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพ
มาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000 คน

        ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิวด้วย
บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อ
ไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับ
เพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม และมักไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่
จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และ
ไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียน
ในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี
แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียนก็คือการสอนที่น่าเบื่อหน่าย ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่เขาเกลียดที่สุด
ทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาให้ไอน์สไตน์ โดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่
ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่น
ยกเว้นวิชาดนตรี และเรียนวิชาอื่นได้แย่มาก แม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีมาก เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ

        ต่อมาไอน์สไตน์อายุ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเขาแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่ง
ทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy)
แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ แต่ด้วยความที่เขาคิดถึงครอบครัวมาก หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผน
ให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี เมื่อเป็นเช่นนั้นไอน์สไตน์จึงเดินทาง
ไปหาครอบครัวที่มิลาน แต่ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเขาได้ขอใบรับรองทางการศึกษา เพื่อสะดวกในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอื่น

        ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic
of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้
เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ เขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่วิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขา
ไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อวิทยาลัยโปลีเทคนิคได้โดยไม่ต้องสอบ หลัง
จากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียน
แห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ และไม่จำกัดมากจนเกินไป แนวการสอน
เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนยังดีมากดีด้วย เพราะได้มีการจัด
ห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้
โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ยังมีนักเรียนจำนวนมาก ทำให้
ไอน์สไตน์ไม่รู้สึกว่ามีปมด้อยที่เป็นชาวยิวอีกต่อไป หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัย
เทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้

        หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับ
การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้า
จากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการ
สัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว
ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี
ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก จากนั้นไอน์สไตน์จึงรับจ้างเป็น
ครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้าง เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความผิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียน
ที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน แม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบ
วิธีการสอนของเขาก็ตาม ไอน์สไตน์ก็ยังถุดไล่ออกอยู่ดี

        ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่า
ไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่มากนัก แต่รายได้ปีละ 250 ปอนด์ ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่ง
ประดิษฐ์ที่แปลกใหม่อีกด้วย ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของเช่นกัน
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า

         ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขา
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับ
ความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความ
สัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย
        E (Energy) = พลังงาน
        m (mass) = มวลสารของวัตถุ
        c = ความเร็วแสง

         ทฤษฎีสัมพัทธภาพต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง พลังงานปรมาณู เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่ง
สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออก
ไป ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขา
ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด

        ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันที
ทั้งนี้เขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาครั้งหนึ่งแล้ว

         ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์
ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความ
สำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็น
ศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการได้สนทนา
กับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัยที่สนุกสนานเป็นกันเอง ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์
เช่นเดียวกัน และอีก 2 ปีต่อมา ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้

         ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ทุกหนทุกแห่งวุ่นวาย โดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915
ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General
Theory of Relativity) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายต่างก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้
อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวน
ทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็ว ทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน

         ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน ได้แก่ ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์
จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาสตร์ ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัย
ไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของ
สถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New
Jersey) นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า
"สสารย่อมไม่สูญไปจากโลกเพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า
สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่
เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก

         ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับความทุกข์ทางใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อ
สงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่
ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดิน
ทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนี และถูกสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 1,000,000 คน

        สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ประเทศสหรัฐ
อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี และอิตาลี
ได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู
เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ระเบิดปรมาณูได้ทำการทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้ ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่ม
และควบคุมการผลิต ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945
ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000 คน แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก
ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000 คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูก นี้
ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เพียงเท่านี้

         ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้าง
อนุสาวรีย์ รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา




เคล็ดลับความงาม..จากรอบโลก



ราซิล
สาวชาวบราซิลเจ้าของผิวสีแทนมันปลาบสะท้านใจชาย มีวิธีดูแลผิวและรูปร่างของพวกเธอให้สวยงามโดยใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ เมื่อมีเวลาว่าง สาวบราซิลเลี่ยนจะพากันไปนั่งเล่นที่ริมชายหาด แต่ไม่นั่งเปล่า ขณะที่ชมวิวพูดคุยกันอย่างเพลิดเพลินนั้นพวกเธอจะใช้ทรายจากทะเลนั่นแหละ กำขึ้นมากอบใหญ่แล้วบรรจงขัดถูตามร่างกายเพื่อกำจัดเซลลูไลท์ นอกจากนี้ความหยาบของเม็ดทรายยังช่วยขัดผิวให้เนียนลื่นและยังช่วยกระตุ้น การทำงานของเซลล์ผิวหนังได้อีกด้วย

ญี่ปุ่น
ความงามของสาวเกอิชาในญี่ปุ่นนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก แล้วเคล็ดลับผิวเนียนนุ่มไร้ริ้วรอยของสาวญี่ปุ่นเหล่านั้นคืออะไร สิ่งที่พวกเธอใช้ก็คือคามิลเลียออยล์ ซึ่งเป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดคามิลเลียสีขาวซึ่งเป็นที่นิยมในเอเชียมาหลาย ศตวรรษ ใช้นวดทาผิวเพราะมันมีสรรพคุณมากมายทั้งให้ความชุ่มชื้น บำรุง ฟื้นฟู และทำให้ผิวนุ่มขึ้นด้วย สาวญี่ปุ่นบอกว่าคามิลเลียออยล์จะช่วยเพิ่มสัมผัสและประกายให้ผิวดูอ่อนนุ่ม น่าสัมผัส อีกวิธีหนึ่งที่สาวชาวอาทิตย์อุทัยสมัยก่อนนิยมกันคือ ใช้รำข้าวล้างหน้า โดยการใช้ผ้าขนหนูรวบห่อรำข้าวไว้เป็นก้อนกลมแล้วแช่ลงในน้ำอุ่นประมาณ 3 นาที จนได้น้ำนมสีขาวๆออกมา นำมานวดคลึงกับใบหน้าแล้วซับให้แห้ง หนหนึ่งใช้ได้ 3-4 ครั้ง แต่ทุกครั้งหลังใช้อย่าลืมตากให้แห้ง ไม่เช่นนั้นอาจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียได้

จีน
ในเวลานี้ชาเขียวของประเทศจีนเป็นที่รู้จักและยอมรับทั่วโลกว่ามีสรรพคุณมาก มายเหลือล้น แต่ถ้าจะพูดถึงชาที่เป็นสุดยอดในจีนจริงๆล่ะก็ ต้องยกให้ชาขาวที่ได้ชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะเท่านั้น ก็เพราะชาขาวมีคุณสมบัติชะลอความแก่ได้ ชาขาวได้มาจากยอดอ่อนสีเงินของต้นชาเขียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าชาจักรพรรดิ ต้นชาเขียวจะรวบรวมสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหมดไว้ที่ยอดอ่อนนี้ ทำให้มีคุณสมบัติเหมือนกับเกราะป้องกันรังสีต่างๆ ไม่ให้รุกล้ำเข้ามาได้

อินเดีย
อยากรู้ไหมว่าเคล็ดลับผมหนาดกดำของสาวๆชาวอินเดียนั้นคืออะไร คำตอบนั้นแสนจะง่าย สาวๆในประเทศนี้เขาใช้น้ำมันมะพร้าวกัน โดยนำมาใส่ชามแล้วตั้งไฟอุ่น พอได้ที่ก็นำน้ำมันนั้นมาชโลมผมพร้อมกับนวดคลึงหนังศรีษะไปด้วย หลังจากนั้นก็หมักทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วล้างออกในตอนเช้า ทำเช่นนี้เพียงสัปดาห์ละครั้ง น้ำมันจะเข้าไปเคลือบบริเวณหนังกำพร้าและช่วยกำจัดผมแตกปลาย ช่วยให้ผมที่บางหนาขึ้นและมีสุขภาพดี ทั้งยังทำให้ผมมีน้ำหนักและเงางามอีกด้วย ส่วนผิวหน้าของพวกเธอนั้นได้รับการบำรุงจากมาสก์ที่ทำจากเมล็ดอัลมอนด์บดผสม กับโยเกิร์ต พอกทิ้งไว้ 25 นาที หลังล้างหน้า จากนั้นใช้ผ้าขาวบางเช็ดออกแล้วจึงล้างหน้าอีกรอบ แค่นี้ก็ได้ผิวหน้าที่เนียนใสแล้ว

สแกนดิเนเวีย
กรรมวิธีได้มาซึ่งผิวสวยของเหล่าสาวชาวสแกนดิเนเวีย นั้นง่ายแสนง่าย วิธีแรกคือพวกเธอจะดื่มน้ำแร่บริสุทธิ์เป็นปริมาณอย่างน้อย 1.5 ลิตรทุกวัน และวิธีที่สองคือใช้น้ำแร่เย็นเฉียบสาดลงบนใบหน้า 15-20 ครั้ง วันละสองรอบเท่านั้นเอง วิธีนี้จะกระตุ้นให้ผิวหน้าทำหน้าที่ตามธรรมชาติของมันได้ดีขึ้นและสามารถ ปรับสภาพได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอื่นๆและน้ำเย็นยังช่วยลด รอยขรุขระบนผิวหน้าได้ด้วย

อิตาลี
เจ้าของตากลมโตสวยซึ่งอย่างสาวๆชาวอิตาลีได้รับการสืบทอดวิธีการดูแลรักษาขน ตาให้จับตัวเป็นแพได้รูปสวยมาจากรุ่นสู่รุ่นเลยทีเดียว เคล็ดลับก็คือ ทุกคืนก่อนนอนพวกเธอจะบรรจงทาน้ำมันคาสเตอร์เคลือบไว้บนขนตาแล้วรุ่งเช้าพอ ตื่นขึ้นมาขนตาของพวกเธอก็จะเรียงตัวสวยเชียวแหละ

กรีซ
สาวๆชาวกรีซมีวิธีการดูแลผิวพรรณให้ผุดผ่องด้วยการชโลมเบบี้ออยล์ให้ทั่วตัว ก่อนจะมุ่งตรงไปยังชายหาด ที่นั่นพวกเธอจะใช้ทรายขัดผิวจนทั่วก่อนที่จะไปล้างตัวด้วยการแช่น้ำทะเล ที่สำคัญคือพวกเธอไม่ลืมที่จะทายากันแดดทุกครั้งก่อนด้วย ไม่เช่นนั้นผิวผุดผ่องจะกลายเป็นไหม้เกรียมแทน

โปแลนด์
น้ำผึ้งจัดเป็นเครื่องสำอางยอดนิยมในหมู่สาวๆชาวโปแลนด์ทั้งรุ่นเล็กรุ่น ใหญ่ โดยสาวใหญ่รุ่นคุณแม่จะนำน้ำผึ้งเหล่านี้มาอุ่นให้ได้อุณหภูมิพอเหมาะแล้ว พอกทาให้ทั่วใบหน้าและลำคอ โดยเชื่อว่าจะเพิ่มความชุ่มชื้นและสารอาหารบำรุงให้กับผิวหน้าในขณะที่บรรดา สาวน้อยวัยรุ่นจะพกติดตัวเพื่อใช้ทาริมฝีปากแทนเพื่อเพิ่มความเนียนนุ่ม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสาวๆเมืองนี้คงปากหวานกันทุกคน

อียิปต์
ความงามแบบพระนางคลีโอพัตราเป็นความงามสุดคลาสสิก เบื้องหลังฟันขาวๆของสาวจากลุ่มแม่น้ำไนล์นั้นคือ ยาสีฟันที่ได้มาจากส่วนผสมของผงฟู (เบคกิ้งโซดา) และเกลือเม็ดหยาบนั่นเอง เพียงแค่ใช้นิ้วป้ายยาสีฟันนี้ลงบนฟัน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีเป็นประจำก็พอแล้ว ใครที่เบื่อรสชาติจำเจของยาสีฟันที่บ้านก็ลองสูตรนี้ดูได้ จะได้ไม่ต้องไปเคลือบฟันขาวให้สิ้นเปลืองสตางค์นอกจากนี้พระนางยังชอบใช้น้ำ ผึ้งมาผสมน้ำนมอาบเพื่อบำรุงผิวให้นุ่มนวลดูอ่อนเยาว์อีกด้วย

ออสเตรเลีย
สาวออสซี่ขนานแท้นิยมเดินเล่นท่ามกลางแสงอาทิตย์ด้วยเท้าเปลือยเปล่า หรือไม่ก็รองเท้าแตะแบบเปลือยเท่านั้น เพื่อจะรักษาเท้าของพวกเธอให้เนียนนุ่มไร้ริ้วรอย พวกเธอจะใช้เปลือกของผลอะโวคาโดนี่แหละมาขัดถูบริเวณที่หยาบกร้านหรือแห้ง แตก เพียงแค่นี้เท้าของพวกเธอก็จะกลับมาเนียนสวยพร้อมโชว์ได้เหมือนเดิมทั้งนี้ เพราะอะโวคาโดมีคุณสมบัติในการซึมซาบและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้มากนั่นเอง คราวหน้าเมื่อใช้อะโวคาโดปรุงอาหารก็อย่าลืมเก็บเปลือกมันไว้ด้วยล่ะ

สเปน
วัยรุ่นในสเปนรักการปาร์ตี้ตะลุยราตรีเป็นชีวิตจิตใจ แน่นอนว่ามีอยู่บ่อยครั้งที่มักจะสนุกสุดเหวี่ยงกันจนขอบตาดำช้ำเป็นหมี แพนด้าในตอนเช้า แต่สาวๆกระทิงดุเค้ามีวิธีทำลายหลักฐานได้อย่างแนบเนียนโดยการใช้มันฝรั่ง ฝานบางๆมาวางทาบลงบนเปลือกตาทั้งสองข้าง นอนนิ่งๆอยู่อย่างนั้นประมาณ 10 นาที ปล่อยให้น้ำและความชุ่มชื้นจากมันฝรั่งซึมซาบเข้าสู่รอยผิวคล้ำนั้น รับรองว่าไม่มีใครจับได้ว่าเมื่อคืนพวกเธอกลับบ้านกันกี่โมง

จาไมกา
สาวงามจากถิ่นแคริบเบียนมีผิวแทนสวยท้าแดดแรงได้ด้วยความช่วยเหลือของเปลือก กล้วยอันเป็นผลไม้ยอดนิยมในเขตร้อนนั่นเอง วิธีใช้ก็แสนง่าย พวกเธอเพียงเอาเปลือกกล้วยด้านในมาถูนวดบนใบหน้าทั้งนี้ก็เพื่อให้ผิวหน้า เนียนนุ่ม แล้วยังเป็นการปกป้องผิวจากแสงแดดได้อีกด้วย นอกจากนี้เวลาที่ผิวงามๆของพวกเธอโดนแดดเผาจนไหม้ ก็ได้เปลือกกล้วยนี่แหละบรรเทาอาการได้ชะงัดนัก นอกจากนี้ผิวด้านในของเปลือกกล้วยยังมีสรรคุณช่วยบรรเทาอาการบวมและคันอัน เป็นผลมาจากการถูกยุงกัดได้อีกด้วย

สก๊อตแลนด์
สาวสก๊อตแลนด์มีผิวพรรณที่เซนซิทีฟมาก อ่อนแอต่อสารเคมีและรังสีต่างๆในแสงแดด ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องผิวอ่อนบางของพวกเธอจากอันตรายใดๆ ทุกครั้งหลังอาบน้ำ พวกเธอจะชโลมน้ำมันอัลมอนด์ลงบนผิวกายจนทั่วเพื่อเป็นการป้องกันผิวไปได้ ตลอดทั้งวัน

อิสราเอล
หญิงสาวชาวอิสราเอลมีวิธีในการบำรุงรักษาความงามของพวกเธอโดยการเอาตัวเองลง ไปแช่ในน้ำทะเลเดดซี ทะเลแห่งนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆและบำรุง ความงามให้แก่ผิวพรรณ น่าเสียดายที่ทะเลบ้านเราไม่ได้เป็นอย่างนั้นบ้าง

รัสเซีย
สำหรับประเทศรัสเซียที่มีภูมิอากาศหนาวสุดโหด เวลาที่พวกหนุ่มๆได้รับแผลจากการโกนหนวดในยามเช้าและอยากหายเร็วๆ พวกเขาจะเอากลีบกระเทียมมาทาถูรอบบริเวณที่เป็นแผลเบาๆ เพื่อทำความสะอาด ทั้งนี้ก็เพราะในกระเทียมมีสารแอนตี้แบคทีเรียนั่นเอง

งามอย่างไทย
บัวหลวง ซึ่งได้ชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาตั้งแต่รากจรดใบ มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นส่วนสำคัญในการต่อต้านและชะลอการเกิด ริ้วรอย แถมยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสในเซลล์ผิว ช่วยให้ผิวขาวเนียน ไม่หมองคล้ำอีกด้วย ปัจจุบันคงหาใช้ได้ยากเต็มที่
มะขาม พืชพื้นบ้านที่เรารู้จักกันดีนี่แหละ นอกจากจะใช้ทำยา ทำอาหารแล้ว พวกคุณทวดเค้าจะเอามะขามเปียกมาขัดถูผิวเวลาอาบน้ำเพื่อให้ผิวขาวใส หรือในฤดูที่อากาศแล้ง การขัดผิวด้วยมะขามเปียกจะช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ไม่แห้งแตกได้อีกด้วย
มะพร้าว มันช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดและลมหนาวได้ไม่เท่าไร แต่สาวไทยรุ่นคุณทวดก็ได้น้ำมันสกัดมาจากมะพร้าวนี่เอง ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแตกแห้ง และยังใช้บำรุงผิวให้นุ่มเนียนน่าสัมผัสอีกต่างหาก

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปุ๊ ระเบิดขวด


ปุ๊ ระเบิดขวด ฉายาที่ได้มาทั้ง ๆ ที่ไม่เคยใช้ระเบิดขวดเลยสักครั้งในชีวิต

ไท ตรอกงิ้ว ปรายตาผ่านบุหรี่สี่มวนพร้อมทั้งกล่องไม้ขีดในจานสังกะสีใบเล็ก ที่เด็กเสริ์ฟยกมาวางลงบนโต๊ะอย่างไม่แยแส ขณะที่เปี๊ยกบ้านแขกกับเพื่อนหยิบไปจุดสูบโรยควันกรุ่น ช่วงเวลาเดียวกัน วัยรุ่นหนุ่มสาวหกเจ็ดคนที่เพิ่งเข้ามาในร้าน

และนั่งล้อมโต๊ะอยู่อีกมุมหนึ่งก็แย่งกันคุยเรื่องเพลงใหม่ของเฟเปี้ยนกับแฟรงกี้ อะวาล่อน ดังจ๊อกแจ๊กจอแจแซ่แซ่ว

ทันทำให้ไทออกจะหงุดหงิดรำคาญหูอยู่ไม่น้อย เขาขยับจะก้มลงดูดโอเลี้ยงในแก้วตรงหน้าตัวเองแก้เซ็งแต่ก็ต้องชะงักและ

สะ ดุ้งยึก เมื่อเหลือบเห็นหนุ่มทีนเอจอีกกลุ่มก้าวผ่านหน้าร้านเข้ามาโขยงบะเร่อ อะไรไม่ว่าคนนำหน้าเป็นหัวโจกคือ ปุ๊ ตรอกสาเก ตัวแสบที่ไม่มีใครอยากตอแย เพียงเห็นแว่บเดียวเขาก็รู้ได้ในฉับพลันด้วยสัญชาตญาณว่าคนกลุ่มนี้มาด้วย จุดประสงค์ใด

ไอ้ปุ๊….”

ไทหลุดอุทานตื่นเพริดได้คำเดียว เจ้าถิ่นบางลำภูกับคู่ซี้หล่อ สะพานขาว ก็ทะยานนำเหล่าลิ่วล้อพราดมาถึงโต๊ะ

เปี๊ยก บ้านแขก ซึ่งนั่งตรงข้ามกันเพียงแต่ทันได้หันขวับไปมองหลังมือขวาของปุ๊ก็ตะบันเข้าเต็มกราน

ผัวÐ…

เปี๊ยกถึงกับหน้าสะพัดหงายเริ่ด บุหรี่หลุดจากปากปลิวคว้างก่อนที่เจ้าตัวจะพลัดหล่นจากเก้าอี้เอียงสีข้างลงตบพื้นดังพลั่ก

กลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวที่นั่งจ้อกันเรื่องเพลงอยู่อีกโต๊ะแตกฮือ และแล้วก็ตามด้วยเสียงผู้หญิงหวีดร้องกรี๊ดกร๊าดแสบแก้วหู

ไทย ตรอกงิ้ว เด้งผึงออกจากโต๊ะโดยมีเก้าอี้ตัวหนึ่งติดมือกระชับมั่น แต่เพื่อนที่เหลืออีกคนไม่ทันได้ไปไหนไกล

แค่ทะลี่งลุกขึ้นก็เจอกำปั้นของเจ้าถิ่น บางลำพู จ้วงเจ้าตรงปากครึ่งจมูกเต็มเงี่ยงเต็มงา  

โชะ.....

บุหรี่ปลิวหวือพร้อมกับเลือดปนน้ำลายกระเซ็นว่อน

พี่แกโครนตึงลงไปหงายเก๋งกับพื้นใกล้ๆ เปี๊ยก บ้านแขก ก่อนที่ทั้งสองจะถูกรวบบาทารุมกระทืบเตะถีบอย่างเมามัน

ทว่า ทันได้ยำกันไม่กี่ตีน ไท ตรอกงิ้ว ก็โลดเข้าไปประเคนเก้าอี้ลงบนหลงไหล่หนึ่งในกลุ่มสุดแรง

โครม

หมอนั่นทำอาการกระตุกทะลึ่งพรวด หลังแอ้หลังแอ่นเซถลา ไทหมุนขวับไปหาอีกคนที่อยู่ใกล้สุด ไม่ใช่ใครอื่น

วัยรุ่นหน้าจืด หล่อ สะพานขาว เก้าอี้ทีเงือดเงื้อขึ้นสูง เหนี่ยวขวับลงไปสุดลิ่มทิ่มประตู

โครม

มัน กระหน่ำลงบนท่อนแขนซ้ายของไอ้รุ่นหน้าจืดที่ตวัดขึ้นรับดังสนั่น เสี่ยววินาทีติดต่อกัน หล่อ สะพานขาว ก็ สะอีกสวนเข้าประชิดพร้อมด้วยมีดสั้น อาวุธประจำกายซึ่งฉกออกมาจากที่ซ่อนเขากระแทกปลายมีดแหลมเฉียบ

เข้าตรงชายโครงคนใช้เก้าอี้เป็นเครื่องทุ่นแรงอย่างดุดัน ไทย ตรอกงิ้ว สะดุ้ง เฮือก

โอ๊ยย์ กูถูกแทง

เขาร้องลั่น ก่อนจะปล่อยเก้าอี้หลุดมือล้มลงไปนอนกุมชายโครงซ้ายดิ้นเร่า เลือดแดงฉาดที่ทะลักออกมาชุ่มโชก

ทำให้เสียงหวีดร้องกรี๊ดกร๊าดระเบ็งลั่นขึ้นอีกคำรบหนึ่ง หล่อ สะพานขาว ซึ่งยังกำมีดติดมือหมุนตัวเผ่นอ้าวออกจาก

ร้าน สัมพันธ์อย่างไม่รอช้า และโดยมีปุ๊ ตรอกสาเกกับเหล่าลิ้วล้อกรูเกรียวตามหลังเป็นพรวนวัยรุ่นอันตรายทั้งกลุ่ม หายลับไปจากที่เกิดเหตุในชั่วพริบตา

 

วังบูรพาภิรมย์

ยุค นั้น ย่านนี้ซึ่งเรียกกันสั้นๆว่า วังบูรพาเป็นสถานที่เที่ยวเตร่พักผ่อนหย่อนใจและช้อปปิ้งหนึ่งในจำนวนไม่กี่แห่งของ คนกรุง รวมทั้งเหล่าทีนเอจโก๋กี๋ออร์เหลนทุกระดับ เพราะวังบูรพามากมายไปด้วยร้านรวงขายของสารพันห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล

ก็ก่อตั้งขึ้นที่นี่เป็นแห่งแรก แถมยังมีโรงภาพยนต์ชั้นหนึ่ง คือ คิงส์แกรนด์ และควีนส์ รวมกันเป็นกระจุกอยู่ถึงสามโรง

และ เมื่ออ้อมไปด้านหลังหรือที่เรียกกันว่า หลังวังนี่เองเป็นที่ตั้งของ ร้าน หรดี”  แหล่งมั่วสุมสิงสู่ที่บรรดาวัยรุ่นหนุ่มคะนอง มักจะแวะเวียนมาพบปะนั่งละเลียดโอเลี้ยงกันทุกเมื่อเชื่อวัน

บ่ายมากแล้ว ขณะที่ปุ๊ ตรอกสาเก แดง ไบร์เล่ย์ กับไอ้รุ่นหน้าจืด หล่อ สะพานขาว ก้าวลอดใต้กันสาดเข้าไปในร้านซึ่งกำลังว่างคน

หลังจากข้ามสะพานพุทธฯ ไปอาละวาดที่ร้านสัมพันธ์ เล่นงานวัยรุ่นฝั่งธนฯ ซะอ่วมอรทัยทั้งยังเจ็บสาหัสด้วยมีดของหล่ออีกหนึ่ง

หน่อคราวนั้น เจ้าถิ่นบางลำภูก็เลิกคิดที่จะตามราวี ปุ๊ วัดมอญ เขาถือว่าสามารถ เอาคืนได้ในระดับที่น่าพอใจและก็เตร็ดเตร่

สร้างบารมีอยู่แต่ในฝั่งพระนคร ทั้งสามเลือกนั่งโต๊ะตัวเก่าเจ้าประจำสั่งโอเลี้ยงและบุหรี่ปลีกซึ่งใส่จานสังกะสีมาพร้อมด้วยไม้ขีด

ตามสูตร

แดง ไบร์เล่ย์ ไม่ใช่คนชอบสูบบุหรี่แต่เมื่อปุ๊จุดส่งให้เขาก็รับมาอัดควันเล่นไปเรื่อยเปี่อยสามเกลอนั่งคุยกันเงียบๆอยู่ไม่นานนัก

หนุ่ม รุ่นอีกนายหนึ่ง ซึ่งเป็นสมาชิกร่วมแก๊งระดับลูกแถว ก็เดินเลี้ยวเข้าร้านปราดมาจ่อมก้นลงร่วมโต๊ะและพอเจอหน้า หมอก็มี เรื่องมาให้

ปุ๊ เมื่อวานเราโดนพวกไอ้เหล็งไล่กระทืบ

เจ้าถิ่นบางลำภูหูผึ่ง ตาลุกวาว ลักษณะนิสัยเขาเป็นหยั่งงี้เอง รู้ว่าสมัครพรรคพวกถูกรังแกเมื่อไหร่เป็นต้องร้อนขึ้นมาเมื่อนั้น

ฝ่ายใดจะผิดถูกยังไงไม่สำคัญ เขาต้องเอาเพื่อนไว้ก่อนทุกงาน ปุ๊ ตรอกสาเก อัดบุหรี่อีกพรืดแล้วทิ้งลงกับพื้นใช้ส้นเกือกขยี้ดับพลาง

แค่นเสียงถาม

ไอ้เหล็งไหนวะ ?

ไอ้เหล็ง นมเย็น เด็กพานขาว

ปุ๊หันขวับมาทางหนุ่มหน้าจืด

พวกนายรึเปล่าวะ?

หล่อสะพานขาวสั่นศรีษะ

ไม่ แค่เคยเห็นหน้ากัน

แปลว่าเล่นได้...

แน่นอน

เจ้าถิ่นบางลำภูหันไปเลิกคิ้วกับไอ้รุ่นคนมาฟ้อง

เอ็งไปถูกไล่กระทืบที่ไหน ?

หมอนั่นทำตาแซ่ว

ก็สะพานขาว มันอยู่กันแถวนั้น

หมายความว่าถ้าจะแก้คืน....

ก็ต้องไปลุยที่นั่¹  หล่อเอ่ยสอ´ พวกไอ้เหล็งมักสุมหัวกันอยู่แถวร้านนาฬิกาข้างๆ นารายณ์ภัณฑ์

พวกมันมีซักเท่าไหร่?

ที่ไล่เหยียบเรามีแค่สามสี่คน .... ลิ่วล้อชั้นลูกแถวตอบอ่อยๆ

แต่ถ้าจะนับรวมทั้งหมดก็เป็นสิบ

งั้น.เอ็งไปตามพวกวัดมหรรณพ์มา ซักเจ็ดแปดคน บอกว่าข้ามีงาน

แค่เจ็ดแปดคน มันจะไหวรื้ออ ?

ไหวสิ ข้า...แดง  กะหล่อจะระดมพวกมหานาคมาสมทบอีกส่วนหนึ่ง

อ้อ

เอ็งรีบไปรวบรวมคนก็แล้วกัน ใครมีของอะไรเตรียมมาให้พร้อม

จะเอาด่วนรึเปล่า ?

ด่วนที่สุด

เดี๋ยว ปุ๊กะจะถล่มพวกไอ้เหล็งวันไหน?

วัยรุ่นอันตรายจากตรอกสาเก ก้มลงดูดโอเลี้ยงกลั้วคอเต็มอีกก่อนทิ้งเสียงเฉียบ

วันนี้แหละ

 พลบค่ำ

รถประจำทางคันหนึ่งซÖèงวิ่งมาจากทางด้านผ่านฟ้า เคลื่อนเข้าป้ายริมถนนหลานหลวงก่อนถึงย่านสะพานขาวแล้วเบรกเอียด

เด็ก หนุ่มกลุ่มใหญ่กว่าสิบนาย กระจายกันลงทางประตูหน้าหลังอย่างรวดเร็ว หัวโจกคนนำทีมไม่ใช่ใครที่ไหน ปุ๊ ตรอกสาเก ซึ่งเคียงข้างด้วยแดง ไบร์เล่ย์ กับนักสู้หน้าจืด หล่อ สะพานขาวพอรถเมล์เร่งเครื่องออกจากป้ายตะบึงผละไปเจ้าถิ่นบางลำภูก็

กวาดตา มองพลพรรคที่ยืนรายเรียงกันสลอนพลางเอ่ยลอยๆ

หวังว่าคงเตรียมของกันมาพร้อมนะ

หลังเสียงเปรยของพี่เอี้อยใหญ่ หลายคนงัดเอาดาบและมีดที่ซุกซ่อนไว้ออกมาโชว์ บางรายมีไม้ดุ้นเหมาะมือหรือไม่ก็สนับทองเหลือ

แต่ไอ้รุ่นนายหนึ่งจากย่านวัดมหรรณพ์แสบกว่าใคร เพราะนอกจากจะพกอีดาบยาวหวิดศอกหมอยังบอกด้วยสีหน้าฉาบรอยยิ้ม

กระหยิ่มลำพอง

เรายังมีของดีอีกอย่างนึง

เอ่ยจบ พ่อยอดชายค่อยๆ ล้วงเอาสิ่งหนึ่งจากในย่ามที่สะพายไหล่ขึ้นมาชูอวด ปรากฏว่ามันเป็นขวดสีชาใบย่อมปิดฝาแน่นสนิท

ปุ๊ ตรอกสาเก ฉวัดตามองแล้วเลิกคิ้ว

ระเบิดขวด ?

ไอ้รุ่นจากวัดมหรรณพ์พยักหน้าหงึก

ใช่ ปุ๊เคยเห็นฤทธิ์เดชของมันรึเปล่าล่ะ

ยังเลย

งั้น..วันนี้ได้ดูแน่

มันร้ายกาจซักแค่ไหนว่ะ?

ไม่รู้เหมือนกัน

อ้าÇ

àราเองก็ไม่เคยใช้ ได้ยินแต่พรรคพวกมันคุยว่าเด็ดสะระตี๋ยิ่งกว่าปืนซะอีก

เออ ขอให้สามราคาคุยเถอะ เก็บไว้ก่อนเดี๋ยวเกิดระเบิดเปรี้ยงปร้างซะตรงนี้จะซวยกันเปล่า

หมอนั่นบรรจงหย่อนขวดหลับคืนลงในย่ามตามคำสั่งโดยไม่อิดเอื้อน ส่วนขาใหญ่เจ้าถิ่นบางลำภู หันไปขมวดคิ้วกับหนุ่มรุ่นหน้าจืด

ร้านนาฬิกาที่ว่าอยู่อีกไกลมั้ย?

หล่อ สะพานขาว วาดมือชี้ป้ายรถเมล์ถัดไปซึ่งอยู่ไกลพอประมาณ แต่ก็มองเห็นได้จากแสงไฟที่สาดออกมาจากร้านค้าตรงนั้น ว่ามีเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่งยืนสุมกันอยู่เป็นโขยง

โน่นไง

ปุ๊ ตรอกสาเก หรี่คาดคะเน  

ที่เห็นยืนออกันหน้าร้าน คงเป็นพวกไอ้เหล็ง

ก็น่าจะใช่

งั้นไป กันเลย ลุย

พร้อมกับการกระแทกเสียงดุดันคำท้าย ไอ้หนุ่มอันตรายจากตรอกสาเกไหวตัวก้าวพรวดออกนำทันควัน พรพรรคทั้งกลุ่มตบเท้า

ตามติดอย่างกระเหี้ยนกระหือฮีกเหิม เพราะที่เห็นเบื้องหน้าคือสมรภูมิและทุกคนไม่ผิดอะไรกับนักรบคะนองศึก อเวจีเป็นพยาน

วินาทีเลือดหลั่งกำลังจะมาถึงในอีกไม่นานเกินรอวัยรุ่นย่านสะพานขาวหกเจ็ดคนที่ยืนจับกลุ่มกันตรงป้ายรถประจำทางหน้า

ร้านนาฬิกา ก็ใช่ว่าจะไม่สำเหนียกภัยความเคลื่อนไหวของหนุ่มทีนเอจโขยงใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ยกขบวนล่องมาตามบาทวิถี

ฝั่งทิศเหนือของถนนหลานหลวง แม้จะยังมองไม่เห็นถนัดชัดเจนเนื่องจากเป็นช่วงหัวค่ำกำลังขมุกขมัวเข้าไต้เข้าไฟแต่มันก็

ทำให้บางคนเริ่มเอะใจไหวระแวงหนึ่งในกลุ่มซึ่งใส่กางเกงขาสั้นสะกิดคนไว้ผมสไตล์เอลวิสปาดชโลมด้วยน้ำมันเหนียว

ยี่ห้อตันโจติ้กหนาเตอะ พลางเอ่ยอย่างหวาดๆ

ข้าว่าไอ้พวกนั้นจะไม่มาดีนะเหล็ง

หมอนั่นแฉลบตามองแผงกองกำลังดำตะคุ่มที่รุกคืบใกล้เข้ามาทุกขณะแล้วพยักหน้า

ข้าก็รู้สึกแปลกๆ แต่หวังว่าคงไม่เกี่ยวกะเรา

ไม่แน่นะ.งข้าสังหรณ์ชอบกล

ยังไงล่ะ ?

เอ็งลือซะแล้วเรอะ ?

เมื่อ วานเราตบโก๋หลังวังคนหนึ่งสะหัวทิ่ม แถมยังไล่กระทืบมันวิ่งเตลิดเปิดโปงรอดตีนไปได้หวุดหวิด ไอ้หมอนั่นข้าคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเคยเห็นเดินกะปุ๊ ตรอกสาเก เจ้าของทรงผมเลียนแบบราชาร็อคแอนด์โรล ผงกศรีษะเนิบช้าพลางพึมพำ

ตัวดังนี่หว่า ข้าไม่เคÂเห็นหน้าค่าตา แต่ก็รู้ว่ามันซ่าอยู่แถวบางลำภู

วัยรุ่นขาสั้นกลอกตามองเด็กหนุ่มกลุ่มนั่นซึ่งยังอยู่ห่างกันไม่กี่สิบเมตร แล้วตวัดเสียงกับคู่สนทนาข้าของฉายา เหล็ง นมเย็น

ไม่ใช่ซ่าธรรมดา มันขาใหญ่เลยละ

อีกฝ่ายเลิกคิ้ว

เอ็งกลัวว่าจะเป็นไอ้ปุ๊จะยกพวกมาแก้คืน ?

ใช่

สะพานขาวถิ่นเรานะ เป็นไปได้รึที่มันจะกล้าล้ำแดน ?

เหล็§  คนใส่ขาสั้นทอดเสีย§ เอ็งคงไม่รู้ว่าไอ้ปุ๊เคยข้ามไปคิดบัญชีกะคู่อริถึงฝั่งธนฯสะพานขาวใกล้แค่นี้ทำไมมันจะมาไม่ได้ ?

ถ้างั¹ ?

กันไว้ดีกว่าแก้ เชื่อเถอะ เกิดมันเป็นอย่างที่ข้าว่าเข้าจริงๆ เดี๋ยวจะแก้ไม่ทัน

เหล็ง นมเย็น เหลียวมองในร้านนาฬิกาซึ่งมีสมมชิกร่วมแก๊งนั่งสุมกันอยู่อีกชุดหนึ่ง ก่อนหันมาเอ่ยเครียดๆ

เอ็งเข้าไปบอำกพวกข้างในให้เตรียมของไว้ผิดนักก็ได็โซ้ยกันแหลกไปข้างนึงละวะ

ไอ้ รุ่นขาสั้นไม่ปริปากโต้แย้ง มันหมุนตัวเผ่นเข้าร้านนาฬิกาอย่างไม่โอ้เอ้ และเพียงชั่วอึดใจต่อจากนั้น ปุ๊ ตรอกสาเก แดง ไบร์เล่ย์ และหล่อ สะพานขาว ก็นำขบวนนักสู้วัยคะนอรุกมาถึง พอประจันหน้ากันกลางแสงสว่างที่สาดออกมาจากร้านรวงบริเวณนั้น หล่อก็เหยียดนิ้วชี้หัวโจกวัยรุ่นคุมถิ่นโดยไม่ลังเล

ไอ้นี่แหลÐ

แทบไม่ทันขาดคำท้าย แดง ไบร์เลย์ ก็โลดผึงออกหน้าโผนเข้าใส่พี่เอื้อยประจำถิ่นชนิดที่ไม่ยอมเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามได้ตั้งตัว

กำปั้นขวาติดสนับทองเหลืองสี่เงี่ยงแข็งปั๋งเหวี่ยงขวับเข้าหาปากครึ่งจมูกหมายเลาะฟันทั้งแผงให้กระจุย

ÍêÐ

เหล็ง นมเย็น หลุดอุทานตื่นๆ พร้อมทั้งพงะยืดคางหลบด้วยสัญชาตญาณสนับมือเลยพลาดเป้าแต่ก็ไม่ไร้ผล

มันโขกตูมเข้าตรงยอดอก เต็มดอกเต็มดวง

Ôêก...

อัก¡....

คนถูกชกสำลักเสียงสั้นๆ แยกเขี้ยวเบี้ยวปากกระเด้งถอยกรูด พริบตานั้น บรรดานักสู้จากต่างถิ่นภายใต้การนำของ

สามหนุ่มอันตราย ก็ดาหน้าทะยานเข้าลุยปรปักษ์อย่างฮึกเหิม วัยรุ่นสะพานขาวจากในร้านนาฬิกาก็ฉวยมีดไม้

เครื่อง ทุนแรงประดามี กรูเกรียวออกสมทบกับพวกข้างนอกทันๆกัน ชาวประชาผู้ไม่รู้อิโหนอิเหน่ที่ยืนรอรถเมล์อยู่ใกล้ๆป้ายสี่ห้าคน กระเจิงหนีกันจ้าละหวั่นด้วยความตื่นตระหนกพรั่นพรึง พร้อมทั้งส่งเสียงเอะอะโวยวายกรี๊ดกร๊าดลั่น ขณะเดียวกัน นักบู๊รุ่นเยาว์ทั้ง

สองฝ่ายต่างก็สัประยุทธ์ห้ำหั่นกันด้วยอาวุธของใครของมันอย่างดุเดือดเลือดพล่านทั้งมีดไม้เงื้องัดกวัดแกว่ง ตีแทงปิดป้องโต้ตอบ

ฟาดฟันกันโดยไม่คำนึงถึงเป็นตาย เสียงอาวุธกระทบเป้าผัวะผะบึ้กบั้กเสียงสบถเกรี้ยวกราดและเสียงโอดโอยด้วยความเจ็บปวด

ดังคละเคล้ากันฟังไม่ได้ศัพท์ รถประจำทางสองคันซึ่งตะบึงข้ามสะพานมาจากยมราชพากันเบรกพรึดเมื่อผ่านที่เกิดเหตุ

แล้ว จอดแช่อยู่คนละฟากถนน ผู้โดยสารในรถเฮละโลมาออกันทางแถบขวาชะเง้อชะแง้มองลอดหน้าต่าง สอดส่ายตาจับภาพการต่อสู้ชนิดถึงเลือดถึงเนื้อที่อุบัติขึ้นริมถนนฝั่งตรง ข้ามอย่างตื่นระทึกและสนใจใคร่รู้วิสัยไทยแท้

ชอบแห่ดูมันซะทุก เรื่อง บางครั้งขนาดต้องเสี่ยงกะลูกหลงก็ยังยอม ใจรักซะไม่มี  ท่ามกลางความชุลมุนวุ่นวายสับสนอลหม่าน และบรรยากาศอันดุดันเหี้ยมเกรียม วัยรุ่นเจ้าถิ่นสะพานขาวซึ่งมีการเตรียมพร้อมน้อยกว่า ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเห็นได้ชัด

บางคนถูกตีล้มลุกคลุกคลาน บางรายก็หัวร้างข้างแตก ถูกมีดถูกไม้ได้เลือดกันเป็นระนาวและขณะที่ส่วนใหญ่ทะยอยถอยร่น

เข้าไปในร้านนาฬิกาไอ้รุ่นตัวดีจากย่านวัดมหรรณพ์ก็เงื้อง้าอีดาบไล่ตามอย่างไม่ลดละซึ่งก็คงได้ฟันใครอีกซักฉัวะหากไม่ผลีผลาม

พลาดท่าไปเจอไม้พลองเหวี่ยงสกัดเข้าใต้ข้อศอกไม่จังนักกระนั้นก็ทำเอาดาบหลุดกระเด็นเมื่อไม่มีดาบเป็นอาวุธเด็กหนุ่มก็จำต้องหยุด

รุกไล่แต่ยังไม่เลิกรา เขาล้วงมือลงไปในย่านที่สะพายติดตัว กำเอาขวดสีชาแก่ขึ้นมาแล้วร้องบอกพรรคพวก

เฮ้ย ถอยออกมาก่อน ถอยเรçÇ

ขาดคำ ขวดใบย่อมถูกโยนลอยละลิ่วเข้าไปในร้านอย่างไม่รั้งรอ พริบตาติดต่อกัน เสียงแตกตัวของระเบิดเคมีก็แผดกัมปนาทกึกก้อง

µÙÁ

กลุ่มควันสีขาวหนาทึบ สาดพรวดออกมาจากในร้านนาฬิกา ตามด้วยเสียงแผดร้องด้วยความเจ็บปวดสาหัสประสานกันระงม

และพอควันจาง ภาพที่ปรากฏในร้านก็คือร่างโชกเลือดของเจ้าถิ่นสะพานขาวหลายนายทอดกายระเกะระกะอยู่กับพื้นที่ซึ่งเกลื่อน

ไปด้วยเศษวัสดุสารพันบิดทุรนทุรายและโอดโอยแข่งกันอึงคะนึงไม่แต่เพียงเท่านั้นหนึ่งในจำนวนพลรบฝ่ายรุกรานก็ยังเจอสะเก็ด

ระเบิดพวกเดียวกันเองบาดเจ็บไม่น้อย ปุ๊ ตรอกสาเก แดง ไบร์เล่ย์ หล่อ สะพานขาวรวมทั้งเหล่าพวกพ้องบริวารถึงกับ

ตะลึงเซ่อไปทั้งเทือก ทุกคนไม่เคยใช้ระเบิดขวด ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าอานุภาพของมันจะรุนแรงร้ายกาจขนาดนี้

เพราะ รูปลักษณ์ภายนอกมันเป็นเพียงขวดใบเล็กๆ ไม่น่าจะมีพิษสงอะไรสักเท่าไหร่ที่ไหนได้ตูมเดียวร่วงระเนเป็นโขยง และไม่รู้จะมีใครถึงตายมั่งรึเปล่า? ปุ๊ ตรอกสาเก ตะลึงขึงขังจังงังกับฤทธิ์เดชของระเบิดขวดอยู่ร่วมอึดใจถึงได้สติ

และพร้อมกันนั้นสมองก็สั่งการให้ฉับพลัน

หนี..

เพราะหามีคนตาย ใครก็ตามที่พลาดพลั้งให้ตำรวจจับได้ต้องรับโทษทัณฑ์ขั้นอุกฤษฏ์แน่นอนเขาหันขวับไปทางเพื่อนร่วมแก๊งที่ยัง

พากันยืนเงอะงะ ทำอะรไม่ถูกและตวัดเสียงร้อนรน ทุกคนหนีเร็ว แยกย้ายกันไป ไม่มีใครรอให้เตือนซ้ำเด็กหนุ่มคะนองเลือดทั้ง

กลุ่ม กระจายพรึ่บไปคนละทิศ เสียงฝีเท้าควบสุดฤทธิ์เตลิดออกจากที่เกิดเหตุ ดังระรัวแข่งกันสับสนบางส่วนกระโจนลงถนน สับตีนตะบึงตัดข้ามไปยังอีกฟากฝั่งอย่างไม่กริ่งเกรงว่ารถราจะพุ่งชน คนขับเสียอีกที่ต้องตาลีตาเหลือกกระทืบเบรกกันให้วุ่น

ไม่ถึงครึ่งนาที วัยรุ่นฝ่ายรุกรานก็สลายตัวไปจากบริเวณนั้นเรียบวุธ ที่เหลือทิ้งไว้ข้างหลังก็คือซากปลักพังแตกหักแหลกวินาศของ

วัสดุอุปรณ์สารพัดในร้านนาฬิกาซึ่งถูกถล่มทลายด้วยระเบิดเสียหายับเยิน ยิ่งไปกว่านั้นยังมีร่างโชกเลือดของบรรดาเจ้าถิ่น

สะพานขาวหลายนายนอนดินทุรนทุรายกลิ้งเกลื่อน และมันแย่หนักเข้าไปอีกตรงที่ส่วนใหญ่บาดเจ็บสาหัส

 คืน นั้น หล่อ สะพานขาว เผ่นหนีไปกับแดง และอาศัยหลบซ่อนที่บ้านของฝ่ายหลงในตรอกไบร์เล่ย์ ส่วนปุ๊ ตรอกสาเก กับลูกทีมจำนวนหนึ่งแห่กันไปค้างที่บ้านเพื่อนย่านถนนบุญศิริ ซึ่งหากหล่อกับแดง ติดกลุ่มไปด้วยก็เป็นอันว่าเสร็จ

ไม่พ้นมือกฎหมายเด็ดขาด เพราะก่อนรุ่งสางคืนเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจก็กระจายกำลังเข้ารายล้อมบ้านหลังที่

เหล่า วัยรุ่นอันตรายสุมหัวกันซ่อนตัวอยู่ และจับกุมได้ โดยละม่อมทั้งชุด และแน่ละว่าพวกที่ถูกจับทุกคน ย่อมต้องเย็บปากตัวเองแน่นสนิทตามวิสัยลูกผู้ชายเต็มร้อย จะไม่มีการซัดทอดหรือแม้แต่ให้เบาะแสสืบสาวไปถึงตัวเพี่อนฝูงที่ยังไม่ได้ โดนรวบมันเป็นกฎเกณฑ์ข้อปฎิบัติที่พวกเขายึดถือกัน

อย่างเหนียวแน่น มั่นคง

แดง ไบร์เล่ย์ หล่อ สะพานขาว กับพวกพ้องร่วมขบวนการอีกส่วนหนึ่ง จึงแคล้วคลาดลอยนวลอยู่ได้โดยปลอดภัย

เช้าวันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์รายวันต่างพาดหัวหน้าหนึ่งเสนอข่าวกันอย่างอึกทึกครึกโครมทุกฉบับรายงานข่าวละเอียดยิบเกี่ยวกับกรณี

วัยรุ่นสองกลุ่ม ก่อเหตุรุนแรงขั้นจราจลเข้าประจัญบานกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านที่สะพานขาวและปิดท้ายด้วยระเบิดขวดซึ่ง

สำแดงอานุภาพร้ายกาจน่าพรั่น และขาดไม่ได้ก็คือภาพถ่ายจองบรรดาเด็กหนุ่มคะนองเลือดที่จนมุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ

มันถูกตีพิมพ์หราปรากฎโฉมหน้าเป็นที่รู้จักไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปุ๊ ตรอกสาเก หรือที่ชื่อจริงตามทะเบียนสำมะโนครัวว่า

จำเริญ บุญยดิษฐ์  ในฐานะที่เป็นหัวโจกนำขบวนนักบู้ฝ่ายรุกแม้จะไม่ใช่คนใช้ระเบิดร้ายแรงถล่มคู่อริแต่เขาก็ได้ฉายาใหม

จากหนังสือพิมพ์แทนของเดิม นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ไม่ว่าฉบับใดก็เรียกเขาด้วยฉายาเดียวกัน

ปุ๊ ระเบิดขวด

และมันก็กลายเป็นฉายาติดตัวจนกระทั่งวาระสุดท้าย

ทั้งๆที่ปุ๊ไม่เคยใช้ระเบิดขวดแม้แต่ครั้งเดียว

ภาพหนังสือด้านล่าง ชื่อเรื่อง : เสื้อลายขวาง กับหนังสือเดินทาง 1/2 เล่ม
ผู้เขียน/แปล : ปุ๊ กรุงเกษม

เรื่อง ราวของชายหนุ่มเมื่อสมัยยุคอันธพาลปี 2501 เจ้าของฉายา "ปุ๊ ระเบิดขวด" ผู้คว่ำหวอดในวงการ หลังจากหมดยุค และได้ผันชีวิตสู่ลาวยันอเมริกาก่อเกิดมิตรภาพของการร่วมทุกข์ร่วมสุข หลากหลายการผจญภัย
ความโดดเด่นในงานเขียนของปุ๊ กรุงเกษม คืออารมณ์ของ นักแสวงหาอันไม่สิ้นสุด และมุมมองความสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้หญิง ความรักในแบบฉบับกล้าได้กล้าเสียของชีวิต "นักเลง